เมนู

เจาะขั้นตอน! การติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ

03/08/2022
By BBtec Admin
Title

ในปัจจุบันทุกพื้นที่ประเทศไทยสามารถใช้งานมือถือหรือเน็ตมือถือ 4G 5G ได้หมดแล้ว การที่เราสามารถรับสัญญาณมือถือได้จากสถานที่ต่างๆ นั้นเพราะเสาสัญญาณมือถือของค่ายต่างๆ นั่นเอง หากพื้นที่ไหนมีเสาสัญญาณมาก มีจุดตั้งเสาที่ครอบคลุมทั่วถึง สัญญาณและความเสถียรในการใช้งานก็จะมากขึ้นตามไปด้วย วันนี้เรานำทุกท่านมารู้จักและได้ทราบ 7 ขั้นตอน การขึ้นเสาสัญญาณฯ กว่าแต่ละพื้นที่จะมีสัญญาณโทรศัพท์มือถือใช้อย่างมีประสิทธิภาพต้องผ่านขั้นตอนอย่างไรบ้าง

1. กำหนดพื้นที่ตั้งเสา และเกณฑ์การเลือกจุดตั้งเสา

แน่นอนว่าก่อนที่จะมีการวางเสาแต่ละต้น ก็ต้องมีการวางแผนกันก่อนว่าควรจะเอาเสาสัญญาณแต่ละต้นไปไว้ที่ตำแหน่งไหนถึงจะเหมาะกับพื้นที่ และต้องยื่นเอกสารคำขออนุญาตสำนักงาน กสทช. คือ 

  1. หลักฐานการทำความเข้าใจกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณขอติดตั้งเสาสัญญาณ ว่าชุมชนนั้นยินยอมให้ติดตั้งเสาได้
  2. ผลการประเมินความแรงของสัญญาณจากเสาดังกล่าว ว่าไม่แรงเกินกว่าที่ กสทช. กำหนด

หลังจากตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่าถูกต้องตามข้อบังคับ ขั้นตอนต่อไปคือ หาพื้นที่ที่มีสัญญาณอ่อน หรือพื้นที่ที่เป็น Landmark ใหม่ๆ มีคนพลุกพล่าน เพื่อวางเสาสัญญาณใหม่และช่วยให้สัญญาณบริเวณนั้นดีกว่าเดิม

2. สำรวจหาพื้นที่เหมาะสม ติดต่อเจ้าของพื้นที่ และตกลงค่าเช่า

เมื่อเจอพื้นที่ที่เหมาะสมในการวางเสาแล้ว ก็ต้องมีการทำสัญญา, ข้อตกลง และเรื่องค่าเช่ากับเจ้าของพื้นที่นั้นให้เรียบร้อย ซึ่งการหาพื้นที่เพื่อติดตั้งเสาสัญญาณนั้น แต่ละค่ายก็จะมีวิธีที่ต่างกันออกไป บางค่ายลงพื้นที่ค้นหาเอง บางค่ายเปิดโอกาสให้ลูกค้าแนะนำพื้นที่สำหรับติดตั้ง โดยพื้นที่ที่เหมาะสมกับการตั้งเสาสัญญาณนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 10 x 10 ม. ขึ้นไป (บนพื้นดิน) ถ้าหากเป็นพื้นที่บนดาดฟ้าตึกจะต้องมีพื้นที่ประมาณ 4 x 8 ม. ขึ้นไป

3. ทำความเข้าใจกับชุมชน

ก่อนที่จะตั้งเสาสัญญาณ จะมีทีมงานลงพื้นเพื่อให้ข้อมูลและสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่อยู่ในชุมชน เนื่องจากผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้นๆ บางส่วนออกมาต่อต้านการติดตั้งเสาสัญญาณมือถือ เนื่องจากกลัวอันตรายจากคลื่นที่ปล่อยออกมาจากเสาสัญญาณ การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและการทำความเข้าใจกับชุมชนเป็นสิ่งที่สำคัญและทำให้ชุมชนโดยรอบเกิดความสบายใจ ลดความกังวลลงได้

4. ขอใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

อีก 1 ขั้นตอนก่อนลงมือสร้างเสาสัญญาณก็คือ ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตในการก่อสร้างเสาสัญญาณจากหน่วยราชการในพื้นที่นั้นๆ จากนั้นก็ยื่นขอใบอนุญาตในการติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคมและใบอนุญาตใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวจาก กสทช. ก่อนการก่อสร้างและเปิดใช้งานเสาสัญญาณ

5. เริ่มการก่อสร้างเสารับ-ส่งสัญญาณ (Civil Work)

เริ่มต้นโดยการคัดเลือกบริษัทก่อสร้างและผู้รับเหมาตามกฎระเบียบของแต่ละค่าย พร้อมติดตามงานอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัยและได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรมของเสาสัญญาณแต่ละแบบ ซึ่งมีทั้งเสาแบบ Guyed Mast Tower ที่ใช้ติดตั้งได้ทั้งบนพื้นหรือดาดฟ้าอาคาร แต่ต้องมีลวดสลิงขึงเพื่อความมั่นคง โดยเสาแบบนี้จะนิยมใช้ติดตั้งภายในเขตเมืองเพราะไม่ต้องใช้พื้นที่มากและสามารถติดตั้งบนดาดฟ้าอาคารได้ ส่วนเสาขนาดใหญ่ที่เรามักจะเห็นตามพื้นที่โล่งๆ จะเป็นเสาแบบ Self-Support Tower ซึ่งเป็นเสาแบบ 3-4 ขา ไม่มีสลิงขึง เพราะตัวมันเองมีความแข็งแรงทนทานอยู่แล้วเพราะใช้การยึดขาไว้กับพื้น 

6. ติดตั้งงานระบบและอุปกรณ์ต่างๆ และเปิดใช้งานเสาสัญญาณ

หลังจากมีการก่อสร้างเสารับ-ส่งสัญญาณแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือ การติดตั้งระบบงานสายส่ง และอุปกรณ์ส่งสัญญาณมือถือ (Transmission and Access Network), ระบบสายส่งตอนนอก (OSP Project Implementation), ระบบอุปกรณ์สายส่ง (Transmission Project Implementation), ระบบ คลื่นวิทยุ (RF Project Implementation) และระบบอุปกรณ์ส่งสัญญาณมือถือ (RAN Project Implementation) การติดตั้งงานระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้สามารถเปิดใช้สัญญาณ (On Service) ได้ทันตามกำหนดเวลา (Installation) ในช่วงที่เปิดสัญญาณใหม่อาจจะยังใช้งานได้แบบไม่เต็มประสิทธิภาพ ทีมช่างเทคนิคต้องมีการจูนเสา ปรับแต่งค่า เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากการปรับแต่งค่าแล้วผู้อาศัยบริเวณนั้นๆ จะสามารถใช้งานสัญญาณมือถือของเครือข่ายนั้นๆ ได้ 

7. ดูแลและซ่อมบำรุง

ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากการก่อสร้างและเปิดใช้งานแล้วก็คือ ขั้นตอนในการดูแล และซ่อมแซมให้เสาสัญญาณสามารถใช้งานได้เป็นปกติ และมีความปลอดภัยโดยทีมงานที่รับผิดชอบของแต่ละค่าย เมื่อไหร่ที่เสาสัญญาณต้นไหนมีปัญหาจะมีการส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปที่ศูนย์ควบคุม หากสาเหตุที่เกิดขึ้นไม่สามารถแก้ไขผ่านศูนย์ควบคุมได้จะมีการ
ส่งทีมช่างเทคนิคออกไปซ่อมบำรุงในขั้นตอนถัดไป

บริษัท บีบี เทคโนโลยี จำกัด (BBTEC) ผู้ให้บริการด้านโครงข่ายโทรคมนาคมแบบครบวงจรด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ BBTEC ให้บริการออกแบบและติดตั้งพร้อมทั้งบำรุงรักษาเสาสัญญาณโทรคมนาคม (Base Transceiver Station), ออกแบบและติดตั้งโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือในอาคาร (Inside Building Cell site) รวมไปถึงเครือข่ายกระจายสัญญาณไวไฟ (Wi-Fi) และบริการติดตั้งพร้อมบำรุงรักษาสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Network) ในทุกพื้นที่ ด้วยศูนย์บริการทั่วประเทศไทย รวมไปถึงงานนำสายสื่อสารลงใต้ดิน (Underground Cable) และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการข้อมูลให้อยู่ในระบบ GIS ด้วยแพลตฟอร์มบริหารจัดการอย่าง MAXITASK 

สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ BBTEC 

Website : www.bbtec.co.th 

Tel: 02-016-5444

ขอบคุณแหล่งข้อมูลและที่มา www.droidsans.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

27/09/2022
Air Blow Cable เทคโนโลยีก้าวหน้า ช่วยลดต้นทุนในการทำงาน
งานนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เป็นงานที่สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน และยกเลิกเสาไฟฟ้าในเขตเมือง เพื่อปรับเปลี่ยนให้เมืองทันสมัย ไร้เสาไฟ ลดผลกระทบจากความขัดข้องสัญญาณ ลดโอกาสเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ หรือสายไฟหรือสายสื่อสารไหม้จากสัตว์ต่างๆ เช่น งู นก กระรอก นั้นลดน้อยลง 
06/05/2022
“5G” พลิกโฉมอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง
การเข้ามาของระบบเทคโนโลยีสื่อสาร 5G ได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกเป็นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะเทคโนโลยี 5G ไม่ได้เป็นเพียงเครือข่ายไร้สายที่จำกัดการเชื่อมต่อเพียงมือถือเท่านั้น แต่ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในเรื่องของความเร็ว ทำให้เทคโนโลยี 5G มีศักยภาพในการเชื่อมอุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ หรือที่เราเรียกว่า Internet of Thing (loT) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดนวัตกรรมและบริการรูปแบบใหม่
30/07/2021
เปิดปฏิบัติการยกระดับอุตสาหกรรม สร้างความปลอดภัยในการทำงานแก่ Dtac-BBtec
วิกฤตโควิด-19 ได้สร้างแรงกดดันมหาศาลให้กับระบบซัพพลายเชนโลก และขณะเดียวกันก็เร่งให้เกิดความต้องการใช้งานบริการการเชื่อมต่อและสื่อสาร สำหรับดีแทคความท้าทายสำคัญนั้นคือการดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยของทีมงานในส่วนปฏิบัติการโครงข่าย ในยามที่กำลังเร่งยกระดับความครอบคลุมของสัญญาณอย่างต่อเนื่อง
กลับไปด้านบน